ผู้เขียน หัวข้อ: บริการด้านอาหาร: อาหารกับการให้คีโม เกี่ยวข้องกันอย่างไร  (อ่าน 125 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 460
    • ดูรายละเอียด
หลายคนคงจะมีญาติ หรือคนใกล้ตัวที่เป้นโรคมะเร็ง ซึ่งหลังจากการผ่าตัดเนื้อร้ายออกไปแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับยาเคมีบำบัด ซึ่งการทำเคมีบำบัด อาจจะส่งผลต่อการรับรสชาติต่างๆ อาหารที่รับประทานเข้าไปอาจมีรสชาติที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงอาจทำให้เราไม่สามารถรับรู้ได้ถึงรสชาติของอาหาร หรือบางครั้งอาจทำให้รสชาติของอาหารผิดเพี้ยนไป จนอาจจะทำให้ผู้ป่วยไม่อยากที่จะรับประทานอาหาร หรืออยู่ในภาวะที่รับประทานอาหารได้ยากมากขึ้น ซึ่งเมื่อเกิดภาวะดังกล่าวขึ้นแล้ว


อาจจะทำให้ร่างกายยิ่งแย่ลงไปอีก เนื่องจาก ภายหลังจากการให้ยาเคมีบำบัดแล้ว ร่างกายของผู้ป่วยจะอ่อนแอ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องได้รับการดูแลในเรื่องของอาหารการกินให้มากเป็นพิเศษ จำเป้นต้องได้รับสารอาหารที่จะเข้าไปฟื้นฟูระบบต่างๆของร่างกาย ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่ดี และเหมาะสม จึงเป็นอีกทางที่ช่วยรับมือกับผลข้างเคียงที่เกิดจากการทำเคมีบำบัดได้ ซึ่งวันนี้ทางเราจะมาพูดถึงอาหารกับการให้คีโม ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร เหตุใดผู้ป่วยจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารในช่วงเวลานี้

 
การทำเคมีบำบัด หรือที่รู้จักกันว่า การทำคีโม เป็นหนึ่งวิธีในการรักษามะเร็ง ซึ่งจะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปากแห้ง คลื่นไส้ และรู้สึกเบื่ออาหาร แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงได้เร็วขึ้น อาหารที่มีรสชาติอ่อนๆ ย่อยง่าย และอุดมไปด้วยสารอาหารจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในช่วงทำเคมีบำบัด ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีผลข้างเคียงหลังจากให้คีโม โดยเฉพาะในเรื่องของการรับประทานอาหาร ที่อาจจะเปลี่ยนไป เนื่องจากการรับรสเปลี่ยนไป หรือมีภาวะเบื่ออาหาร ซึ่งสามารถจัดการได้ด้วยการให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย รับประทานครั้งละน้อยๆ


แต่บ่อยครั้ง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด มีไขมัน และของทอดทุกชนิด และต้องทำความสะอาดปากและฟันหลังอาหารทุกมื้อ ถ้าหากรู้สึกคลื่นไส้ ให้พักผ่อนและสูดหายใจยาวๆ ลึกๆ ช้าๆ และควรรีบปรึกษาแพทย์ หากมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนมากตลอดวัน และรับประทานอาหารได้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม อาหารคือสิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลตัวเองหลังจากให้คีโม เนื่องจากการให้ยาเคมีบำบัดนั้น เป็นการให้สารเคมีเข้าไปทำลายหรือยับยั้งเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตเร็วในร่างกาย ซึ่งรวมถึงจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ช่วยในการกำจัดเชื้อโรค ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง 

 
ดังนั้น ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ อาหารที่สุกและสะอาดช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา นม และไข่ไก่ต้มสุก เป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่าย เพราะโปรตีนมีความสำคัญในการเสริมสร้างเซลล์ในร่างกายที่ถูกทำลายไป ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้แนะนำปริมาณการรับประทานที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย และควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้ไตขับยาเคมีบำบัดออกจากร่างกายให้มากที่สุด และควรเลี่ยงรับประทานอาหารค้างคืน


เพราะมีความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับเชื้อโรคที่กำลังเพาะตัวในอาหารจานนั้น เลี่ยงรับประทานอาหารหมัก ดอง ดิบ กึ่งสุก กึ่งดิบ เพราะมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วง งดการดื่มแอลกอฮอลล์ หรือเสพสิ่งมึนเมาอื่นๆ ในระหว่างการรักษา ที่อาจกระตุ้นการทำงานของเซลล์มะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม ในการรับประทานอาหาร จึงมีความสำคัญกับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ถ้าหากผุ้ป่วยรับประทานอาหารไม่ได้ อาจจะทำให้มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา เช่น ขาดสารอาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเกิดการเจ็บป่วยอื่นๆได้

 
ทางที่ดี เราทุกคน ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะทางเราเน้นย้ำมาตลอดให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ที่สำคัญเราจะต้องดูแลตัวเองให้มากๆ ดื่มน้ำมากๆ และต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของสุขภาพร่างกายของเราในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอยู่ในขณะนี้ นั่นก็คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยิ่งถ้าเรามีภูมิคุ้มกันที่ดี แข็งแรง ก็จะช่วยทำให้เราลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือลดความเสี่ยงของอาการเจ็บป่วยได้ ดังนั้น เราจะต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อให้เราห่างไกลจากโรค



บริการด้านอาหาร: อาหารกับการให้คีโม เกี่ยวข้องกันอย่างไร อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/catering-service/