จัดฟันบางนา: ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าฟันคุด และวิธีรักษา“ฟันคุด” คือ ฟันที่ขึ้นมาอย่างผิดปกติในช่องปาก จะขึ้นมาเพียงส่วนหนึ่ง ทั้งที่ตามธรรมชาติแล้วฟันทุกซี่จะต้องโผล่ขึ้นออกมาทั้งหมด หรือบางทีฟันคุดอาจจะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรไม่โผล่ขึ้นมาให้เห็นเลยก็มีเหมือนกัน
ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วฟันซี่ที่พบฟันคุดมากที่สุด ก็คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งจะอยุ่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกร ซึ่งส่วนมากที่พบจะโผล่มาในลักษณะเอียง หรือนอนในแนวระนาบ และจะขึ้นมาอยู่ชิดกดดันฟันข้างเคียงเสมอ ส่วนฟันซี่อื่นๆก็อาจจะเกิดการคุดได้แต่จะพบได้น้อยมาก โดยส่วนใหญ่แล้วหากพบฟันคุดจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดออก
ซึ่งในวันนี้ทางด้านของ Clinic จะขอมาพูดถึงประเด็นอาการแทรกซ้อนที่มักพบได้บ่อยจากการผ่าตัดฟันคุด ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ทราบได้อย่างไรว่ามีฟันคุด ?
หากว่าทำการตรวจสอบช่องปากของตนเอง แล้วพบว่ามีฟันโผล่ขึ้นมาเพียงบางส่วน หรือมีฟันซี่ไหนหายไป ก็ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าท่านอาจจะเป็นฟันคุด และไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการ X-ray เพื่อให้เกิดความแน่ใจและชัดเจนอีกครั้งว่าท่านมีฟันคุด หลังจากนั้นทันตแพทย์ก็จะพูดคุยถึงแผนการรักษาเรื่องการผ่าตัดฟันคุดต่อไป
หลังจากผ่าตัดฟันคุดควรทำอย่างไร ?
– ให้ทำการกัดผ้าก๊อซทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง สามารถกลืนน้ำลายได้ตามปกติ
– ห้ามทำการบ้วนเลือดหรือน้ำลาย เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้เลือดไหลไม่หยุด
– หลังจากครบ 1 ชั่วโมงแล้วให้คายผ้าก๊อซที่กัดอยู่ออก แต่หากพบว่ายังมีเลือดไหลอยู่ก็ให้ทำการหาผ้าก๊อซชิ้นใหม่มากัดทิ้งไว้อีกประมาณ 30 นาที
– ประคบน้ำแข็งบริเวณแก้มที่ผ่าตัด
– รับประทานอาหารอ่อน
– รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่งให้ครบ
– งดออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา
– แปรงฟันได้ตามปกติ
– ไปตัดไหมหลังจากผ่าตัด 7 วัน
– หากว่ามีปัญหาผิดปกติ หรือมีอาการแทรกซ้อน ควรพบทันตแพทย์โดยเร็ว
อาการแทรกซ้อนหลังจากผ่าตัดฟันคุด ?
– เลือดออกมากผิดปกติ
เป็นปกติอยู่แล้วที่จะมีเลือดออกหลังจากการผ่าตัด แต่การกัดผ้าก๊อซก็จะช่วยให้เลือดหยุดไหลในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง แต่ถ้าหากว่าหลังจากครบเวลายังมีเลือดออกมากผิดปกติ มักเกิดจากการที่หยุดเลือดหลังผ่าตัดไม่เพียงพอ หรือจากการกรีดตัด retromolar vessel แต่ถ้าหากว่ายังมีเลือดออกมากเป็นเวลาหลายวันแสดงว่าแผลผ่าตัดของท่านกำลังติดเชื้อ
วิธีรักษาคือเข้าพบทันตแพทย์ผู้รักษาโดยด่วน เพื่อให้ตรวจสอบว่ามีเศษฟันตกค้างอยู่หรือไม่ หากว่ามีการติดเชื้อทันตแพทย์ก็จะให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
– การบวม
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งในปฏิกิริยาการตอบสนองของมนุษย์เมื่อพบเจอภัยอันตราย ที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัดฟันคุด ส่วนใหญ่จะมักบวมด้านนอกบริเวณแก้ม ผลมาจากการกรีดตัดเส้นใยของกล้ามเนื้อ หรืออาจเกิดจากเยื่อหุ้มกระดูกถูกฉีกขาด จึงทำให้เกิดอาการบวม ซึ่งส่วนใหญ่จะบวมอยู่ประมาณ 2 วัน แล้วร่างกายจะรักษาและปรับตัวเองตามธรรมชาติ
วิธีรักษาเบื้องต้นง่ายๆ คือการเอาน้ำแข็งมาประคบที่แก้มด้านนอกฝั่งที่บวม แต่ควรประคบแค่ในวันที่ทำการผ่าตัดมาเท่านั้น
– อาการติดเชื้อ
หากว่าได้ทำการผ่าฟันคุด และมีอาการบวมต่อเนื่องไม่ยอมยุบลงแม้ว่าจะผ่านไป 3-4 วันแล้วก็ตาม มักจะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ซึ่งจะมีอาการต่างจากการบวมตามธรรมชาติหลังผ่าตัด เพราะจะมีไข้สูง ผิวหนังด้านนอกบวมแดงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาการติดเชื้อเหล่านี้มักเกิดจากการที่ดูแลสุขภาพช่องปากหลังผ่าตัดได้ไม่ดีเพียงพอ อาจเนื่องจากไม่กล้าที่จะทำความสะอาดช่องปากตามปกติ จึงส่งผลให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคอักเสบและติดเชื้อตามมา
วิธีการรักษาคือควรเข้าพบทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาเพื่อตรวจดูอาการ หากมีหนองทันตแพทย์จะทำการกรีดหนองออก ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือ และอุดหลวมๆ
– อ้าปากไม่ขึ้น
ส่วนใหญ่แล้วการอ้าปากไม่ขึ้นหลังจากผ่าตัดฟันคุด จะพบในบุคคลที่ทำการผ่าตัดฟันคุดด้านล่าง สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง เป็นผลมาจากอาการอักเสบหลังจากผ่าตัด รวมถึงการติดเชื้อ และเทคนิคการฉีดยาไม่ถูกต้อง
วิธีรักษาอาการเบื้องต้นก็คือ ใช้น้ำอุ่นประคบนอก และทำการอมเกลือฆ่าเชื้อและบ้วนออก หากว่าอาการยังไม่ดีขึ้นให้รีบเข้าพบทันตแพทย์โดยเร็ว
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็คือส่วนหนึ่งของโรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้จากการถอนฟันคุด ให้ตั้งสติอย่างตกใจ และหาทางแก้ไขโดยเร็ว อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจจะรุกรามได้นั่นเอง