ผู้เขียน หัวข้อ: โรคไตเรื้อรัง... ความผิดปกติที่ป้องกันได้  (อ่าน 50 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 349
    • ดูรายละเอียด
โรคไตเรื้อรัง... ความผิดปกติที่ป้องกันได้
« เมื่อ: วันที่ 5 พฤษภาคม 2024, 20:24:17 น. »
โรคเรื้อรังหนึ่งที่สร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยทั้งยังมีค่าใช้จ่ายสูง คือ “โรคไตเรื้อรัง” ซึ่งเมื่อเป็นแล้วต้องรักษาตลอดชีวิต แต่เราสามารถเลี่ยงความทรมานนี้ได้ เพราะ นพ.ศานต์ ตรีวิทยาภูมิ อายุรศาสตร์ (อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคไต) แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพญาไท 3 บอกว่าโรคนี้ป้องกันได้


รู้จัก “ไต” อวัยวะที่ทำมากกว่าขับของเสีย

เราต่างทราบดีว่าหน้าที่หลักของไต คือการขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีนออกจากร่างกาย ขับน้ำส่วนเกินเป็นปัสสาวะ ทั้งยังปรับสมดุลเกลือแร่ กรด ด่าง ในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ และที่หลายคนไม่ทราบคือ ไตยังทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดงเพื่อไม่ให้เกิดภาวะโลหิตจาง และสร้างวิตามินควบคุมการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ


“ไตเรื้อรัง” คืออะไร

ไตเรื้อรัง เป็นภาวะที่ไตเกิดความเสื่อมทีละน้อย จนการทำงานของไตลดลงมาก ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการล้างไต หากการทำงานของไตมีความผิดปกติมากกว่า 3 เดือนจะเรียกว่าไตเรื้อรัง

หากแพทย์วินิจฉัยและระบุว่าเป็นโรคนี้ หมายความว่า ไตไม่สามารถกลับมาเป็นปกติและจะมีความเสื่อมมากขึ้น โดยระดับความเสื่อมจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนเสื่อมทีละน้อย บางคนเสื่อมอย่างรวดเร็ว ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองของผู้ป่วยและการควบคุมโรคที่เป็นอยู่


อาการแบบนี้ เข้าข่าย “โรคไตเรื้อรัง”

เมื่อไตเสื่อม ไตก็ไม่สามารถขับของเสียได้ทำให้มีของเสียคั่งอยู่ในเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย ซึม และหากไตขับน้ำได้น้อย น้ำก็จะคั่งในร่างกาย มีอาการบวม ตัวบวม ขาบวม ตาบวม และถ้าไตทำงานน้อยลง สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายจะเกิดความผิดปกติ อาจทำให้เกลือแร่บางชนิดสูงขึ้น เช่น โพแทสเซียม ซึ่งพบได้มากในผลไม้ เมื่อร่างกายไม่สามารถขับโพแทสเซียมได้ก็จะค้างในเลือด จนส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้น เป็นต้น


โรคไตเรื้อรัง แบ่งเป็น 5 ระยะโดยใช้ระดับการทำงานของไตเป็นตัวแบ่ง ระยะแรกๆ การทำงานของไตจะปกติแล้วลดระดับลงเรื่อยๆ โดยจะไม่แสดงอาการจนถึงระยะที่ 4-5 ซึ่งโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 นั้น ได้ทำงานได้น้อยลง 15% ขณะที่ระยะที่ 1-3 จะไม่มีอาการแสดง และไม่ทราบหากไม่ตรวจสุขภาพประจำปี ทั้งนี้ สัญญาณความผิดปกติที่เกิดขึ้น มีดังนี้

    ปัสสาวะผิดปกติ เช่น สีผิดปกติ มีลักษณะเหมือนน้ำล้างเนื้อ หรือสีเข้มกว่าปกติ ปัสสาวะมีฟองมาก
    ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืนที่ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ 3-4 ครั้งขึ้นไป
    ปัสสาวะแสบขัด กะปริบกะปรอย
    มีอาการปวดหลัง ปวดเอว อาจมีความผิดปกติบริเวณนิ่วในไต ไตอักเสบ
    ความดันโลหิตสูงขึ้น

ใคร “เสี่ยง” โรคไตเรื้อรัง

    ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่เป็นนานกว่า 5 ปี
    ผู้ที่ความดันโลหิตสูง อาจเป็นโรคไตและส่งผลให้ความดันโลหิตสูง หรือเป็นความดันโลหิตสูงและส่งผลให้เกิดไตวายเรื้อรัง
    กลุ่มโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคถุงน้ำในไต ที่ยังไม่มียารักษา ต้องควบคุมดูแลเพื่อชะลอความเสื่อมของไต
    โรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือโรคเอสแอลอี (Systemic lupus erythematosus: SLE) ที่เกิดขึ้นได้กับทุกอวัยวะในร่างกาย โดยอวัยวะที่โรคนี้ไปทำลายคือไต ทำให้ไตอักเสบและไตวายในที่สุด
    โรคเกาต์ หรือระดับกรดยูริกในเลือดสูง ซึ่งการที่กรดสูง ทำให้มีการตกตะกอนที่ทางเดินปัสสาวะ เกิดปัญหานิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือตกตะกอนที่เนื้อไต
    การรับสารหรือยาบางชนิด ส่งผลให้ไตเสื่อมหรือไตวาย เช่น ยาต้านการอักเสบ ที่มักกินเพื่อลดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดข้อ ปวดเข่า เป็นต้น

รักษาอย่างไร เมื่อเป็นโรคไตเรื้อรัง

แนวทางการรักษาจะเน้นที่การชะลอความเสื่อมของไตเป็นหลัก โดยจะรักษาโรคที่เป็นสาเหตุที่นำมาสู่โรคไตเรื้อรังให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเหมาะสม ควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด โดยต้องกินอาหารโปรตีนต่ำ  low protein diet


ทั้งนี้ โรคไตเรื้อรังสามารถป้องกันได้ โดยการตรวจสุขภาพเพื่อหาโรคต่างๆ อาทิ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เกาต์ เพื่อวางแผนป้องกันไม่ให้เกิดโรค หรือหากพบโรคก็ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อคุมอาการให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี



โรคไตเรื้อรัง... ความผิดปกติที่ป้องกันได้ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/298