หากสงสัย ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งจะทำการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษา
ในรายที่อาการเล็กน้อย แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ และแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การคลายเครียด การไม่สูบบุหรี่ ซึ่งมีส่วนช่วยบรรเทาอาการและลดความรุนแรงของโรค
ในรายที่เป็นรุนแรง แพทย์จะให้ยาควบคุมการอักเสบ ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่ม อาทิ ยาต้านการอักเสบ (เช่น สเตียรอยด์, mesalazine, sulfasalazine), ยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น azathioprine, cyclosporine, methotrexate), ยาชีววัตถุ (biologics เช่น infliximab, adalimumab, vedolizumab)
นอกจากนี้ แพทย์จะให้การรักษาตามอาการและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้, ยาแก้ท้องเดิน (เช่น โลเพอราไมด์), ยาปฏิชีวนะ (เช่น ไซโพรฟล็อกซาซิน เมโทรไนดาโซล) ในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย, ยาบำรุงโลหิตในรายที่มีภาวะซีด, โภชนบำบัดในรายที่น้ำหนักลดมาก, การผ่าตัด (เช่น ลำไส้ทะลุ มะเร็งลำไส้ ฝีคัณฑสูตร ลำไส้มีเลือดออกมาก หรือลำไส้อักเสบรุนแรง และใช้ยารักษาไม่ได้ผล)
ผลการรักษา ส่วนใหญ่การรักษาด้วยยาเป็นการบรรเทาอาการและควบคุมการอักเสบ ซึ่งอาการมักดีขึ้นภายใน 2-4 สัปดาห์ แต่เนื่องจากโรคนี้มักเป็นเรื้อรังไม่หายขาด จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน แพทย์ก็จะทำการแก้ไขให้ปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
อาการของโรค: โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease/IBD) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions